Cover Interview – DRAG DAEK X POSH MAGAZINE THAILAND

05_ 038

เป็นความตื่นเต้นของทีมงานเป็นอย่างมากที่วันนี้มีโอกาสได้พบ 2 ตำนานของ Drag Queen เมืองไทยที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีไจ๋ ซีร่าและนาตาเลีย เพลียแคมที่ทั้งสองจะมาพูดแบบหมดเปลือกถึงรายการที่เป็น talk of the town ในตอนนี้รายการ “drag แดกจะสนุกสนานขนาดไหน มารู้จักพวกเธอกันเลย

แนะนำตัวกับผลงานว่าตอนนี้มีอะไรบ้าง

ok10

N: นาตาเลีย เพลียแคม ค่ะ เป็นอดีต Miss ACDA 2006 แล้วก็ล่าสุดเป็นผู้ชนะ Drag Race Thailand Debut Season ค่ะ

 

ok4

J: ไจ๋ ซีร่า ค่ะ มาดอนน่าเมืองไทย เจ้าของรางวัล Show Girl Choice จากประเทศออสเตรเลียค่ะ

N: แล้วตอนนี้เราสองคนก็มีรายการที่ทำด้วยกันชื่อว่ารายการ “แดร็ก แดก” ค่ะ

J: ก็จะรายการที่เราสองคนจะพาไปกิน ไปชิม แล้วก็มีเรื่องของแฟชั่น และเอ็นเตอร์เทนเมนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ บนคอนเทนต์ที่ว่า Drag Fashion Food Entertainment of the World ค่ะ

04_ 391

อยากให้ขยายความคำว่า “Drag (แดร็ก)” ให้คนที่ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรทีได้ไหม

J: แดร็ก ในมุมมองของไจ๋ คือ “ความสนุก” คนที่นึกสนุก แล้วก็ลุกขึ้นมาทำอะไรให้กับตนเอง โดยการแต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม ทั้งนี้มันก็จะมีจุดประสงค์ในการแต่งหลายๆ โอกาสออกไป ไม่ว่าจะไปงานปาร์ตี้ ไปเป็นพิธีกร หรือว่างานแสดงต่างๆ ซึ่งมันเป็นวัฒนธรรมที่มาจากทางตะวันตก ซึ่งคนบ้านเราอาจจะไม่คุ้นชินกับคำว่า “แดร็ก” เราจะคุ้นชินกับคำว่า “แต่งหญิง” มากกว่า

N: แล้วก็ในส่วนของความเป็น แดร็ก จริงๆ มันก็คือความเป็นศิลปะ คือการสร้างโลกคู่ขนานกับความจริงขึ้นมา เพียงแต่ว่าเราต้องกำหนดว่าเราจะพรีเซ็นต์ความเป็นแดรกของเราไปแนวทางไหน ซึ่งแดร็กมันมีได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ทั้งหมดค่ะใครๆก็เป็นแดร็กได้

ok16

ผู้หญิงก็สามารถแต่งเป็นแดร็กได้?

N: ใช่ค่ะ ผู้หญิงก็แต่งแดร็กเป็นผู้ชายได้เหมือนกัน

อย่างนี้การแต่งแดรก จะต้องเป็น LGBT เท่านั้นไหม?

J: ไม่จำเป็นเลยค่ะ ไม่จำกัดเพศ เพราะว่าการแดร็กนั้นไม่จำกัดเพศ ซึ่งที่ผ่านมาการประกวด Miss ACDC ก็มีผู้ชายแท้ๆ เข้ามาประกวดในลักษณะเป็นแดรก เหมือนกับว่าเค้าแค่นึกสนุกอยากลองดูว่าความสามารถของตัวเองทำได้หรือเปล่า

N: ซึ่งสุดท้ายเค้าก็ติด 1 ใน 5 นะคะ

ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศใช่มั้ยครับ

N: ไม่เกี่ยวค่ะ เป็นรสนิยมความชอบ แล้วก็การแสดงออกมากกว่า เพียงแต่ว่าคนมักไประบุว่าเพศมันมีแค่ผู้หญิง ผู้ชายแค่นี้ค่ะ

J: มันก็เป็นเหมือนพาร์ทหนึ่งของการแสดงศิลปะออกมาทางร่างกาย แล้วก็ความคิดสร้างสรรค์

OK

พูดถึงรายการแดร็กแดกนึกอย่างไรถึงมารวมกันทำรายการนี้ได้ รู้จักกันมาได้อย่างไร

N: เรารู้จักกันมานานมากแล้วค่ะเกือบ 20 ปีได้ แล้วเราก็เป็นแดรก แล้วก็โชว์แดร็กมานานมากแล้วด้วยค่ะ (หัวเราะ) ก่อนจะมีรายการ Rupaul’s Drag Race อีกนะคะ เพียงแต่ว่าในเมืองไทยมันยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

J: ซึ่งคนไทยก็จะคุ้นชินกับคำว่าแต่งหญิง และนางโชว์เป็นหลักมากกว่า ส่วนรายการก็เป็นโปรเจคต์ที่เราคิดกันมานานมากแล้วว่าอยากทำ

นางโชว์จัดว่าเป็นแดร็กอย่างหนึ่งไหม?

J: เป็นค่ะ เป็นลักษณะของ Performer ซึ่งเราต้องมองให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หลักของเค้า ที่เค้าต้องการที่จะเอนเตอร์เทนคนดู มันก็เลยอยู่ในตระกูลเดียวกัน

ทำไมถึงเลือกที่จะพาไปกิน?

N: เราคิดว่าอาหารมันเป็นภาษาสากล และเป็นปัจจัยสี่ แล้วก็เป็นเทรนด์ที่ไม่มีวันตายค่ะ เพียงแต่ว่าเราก็ใส่ความเป็นนาตาเลีย กับไจ๋ ซีร่าไปซึ่งเราคิดว่ามันเป็นเอกลักษณ์พอสมควร ไม่ค่อยจะมีใครทำ แล้วก็ใส่ความสนุก ใส่ความคิดนอกกรอบลงไปในเรื่องราวเดิมๆ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

04_ 373

ความพิเศษของรายการที่พาไปกินเรามีตรงไหนบ้าง

N: เราทำงานกันแบบไม่มีสคริปเลยค่ะ ไปเรื่อยๆ ดูว่าตรงนั้นมันจะเกิดอะไรขึ้น แต่ก็พอทำไปเรื่อยๆ คนก็จะเฝ้ารอดูว่าจะได้อะไรบ้าง จะได้อินสตาแกรมผู้ชายคนไหนบ้าง (หัวเราะ)

J: แล้วก็ลุ้นว่าไจ๋ กับนาตาเลียจะแต่งตัวยังไง เพราะแต่ละวีคก็จะไม่เหมือนกัน แล้วจะได้เจอแขกรับเชิญเป็นใครบ้าง

มองว่าปัจจุบันคนในสังคมมองการแต่งแดร็ก หรือคนที่แต่งหญิงไปในทางที่ดีขึ้นหรือยัง

J: เข้ารู้จักมากขึ้นนะคะ

N: มีความแพร่หลายมากขึ้นค่ะ มีความเข้าใจมากขึ้นว่าแดร็ก ไม่ใช่กะเทย หรือตัวตลก แดรกมีบทบาท หลายความสามารถที่จะพรีเซ็นต์ออกไป เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้เข้าใจลึกซึ้ง เพราะเมืองไทยไม่ใช่ต้นฉบับหลัก รากเหง้าของความเป็นแดร็ก อาจจะต้องใช้เวลา แต่ก็เข้าใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะมาก

รู้สึกอย่างไรที่ในสังคมมองว่าคนที่แต่งแดร็ก หรือกลุ่มกะเทยที่อยู่ในวงการบันเทิง มักจะต้องรับบทตลก

J: ในมุมมองของไจ๋ คิดว่าจะไปโทษคนที่เค้าคิดก็ไม่ได้ เพราะว่าจุดเริ่มต้นมันต้องมองที่คนที่ทำก่อน ซึ่งคนที่ทำเค้าเริ่มจากความสุข และความสนุกที่จะทำ แล้วก็เอาความสุข และสนุกตรงนั้นมอบให้กับคนอื่นอีกที ฉะนั้นพอคนอื่นเค้ามองเราว่าเรามอบความสุขให้เค้าได้ เค้าจึงมองเราเป็นตัวตลก แต่ความจริงแล้วแดร็กเนี่ยไม่ใช่ตัวตลก แต่เราเป็นคนที่สามารถเฮฮา ขำขันได้ แล้วก็สร้างความสุขให้เค้าได้มากกว่า

N: แล้วก็บางครั้งเราถูกตีลักษณะจากคนที่ไม่เข้าใจ มันก็เลยทำให้สังคมมองภาพเป็นแบบนั้น เหมือนวันนึงเค้าอาจจะนึกว่าคนที่ไม่แต่งตัว เป็นคนจน แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ มันอาจจะเป็นลักษณะความชอบของเค้า เพราะฉะนั้นแดร็กก็เช่นเดียวกัน 

ok13

ทุกวันนี้ที่ทำรายการ ถือเป็นส่วนหนึ่งไหมที่อยากสื่อสารให้คนในสังคมเข้าใจมากขึ้น

J: ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย แต่เอาตรงๆก็คือตัวไจ๋เองพูดเกี่ยวกับเรื่องแดร็กมาหลายปีแล้ว แต่คนก็จะเข้าใจในระดับนึง มันก็ยังไม่ได้เปิดใจอะไรขนาดนั้นซึ่งของแบบนี้มันก็ต้องใช้เวลา แล้วก็คงไปบังคับคนที่ปักใจเชื่อผิดไม่ได้ เพราะแต่ละคนเค้าก็จะมีมุมมองที่ต่างกันไป ซึ่งทางฝั่งอเมริกาซึ่งเป็นต้นแบบก็จะมองแดรกเป็นอีกรูปแบบนึง ทางฝั่งออสเตรเลียก็จะมองเป็นอีกแบบนึง ของไทยเราก็จะมีความเป็นนางโชว์ของเราซึ่งฝรั่งมองเห็นเรา แล้วเค้าว้าว แบบว่าทำไมพวกยูถึงเป็น performer ที่ดูน่าดู แต่ทางฝั่งเราก็มองแดรกของฝรั่งว่าว้าว มันก็เลยเป็นเรื่องของมุมมองแต่ละคนกันไป

ok14

N: ทัศนคติและมุมมองมันก็เปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่นั้นๆ ค่ะ 

ในตอนนี้ก็มีกลุ่ม LGBT เคลื่อนไหวในเรื่องของสิทธิต่างๆ เราได้มีส่วนร่วมบ้างไหม

J: เราจะเป็นแรงสนับสนุนซะมากกว่า แต่ทีนี้ก็ต้องเรียนตามตรงว่าไจ๋เองก็ไม่ได้มีกระบอกเสียงใหญ่เท่ากับคนอีกหลายคนในวงการบันเทิงจริงๆ

N: มันเป็นความฝันที่ซักวันเราต้องทำมันให้ได้ค่ะ ในขณะนี้เราอยู่ในฐานะนักแสดง ฐานะคนที่ใช้ศิลปะในการทำแดร็ก อย่างส่วนตัวเนี่ย อยากจะเป็นนักการเมือง อยากจะขับเคลื่อนในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ และมันมีปัจจัยอื่นๆ ที่มากกว่าสิทธิเสรีภาพทั่วไป เช่น การศึกษา การทำความเข้าใจในเรื่อง LGBT ในคนพิการค่ะ

J: แล้วก็เรื่องสำคัญอีกอย่างเลยค่ะว่าการแต่งแดร็กเป็นอาชีพ และกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ใช้ต้นทุนสูงมาก ต้องคนที่รักจริงเท่านั้นถึงจะยอมกับอะไรเหล่านี้ได้ เพราะทุกอย่างคือการทุ่มเทอย่างมาก ถึงจะแต่งมาแล้วจะไปถึงขั้นที่เรียกว่า professional drag ได้

ok7

ต้นทุนนี่มาจากอะไรบ้าง

J: อย่างแรกก็ในเรื่องของความสามารถ คุณจะต้องมีการแต่งหน้า การแต่งตัว การทำผม การพูดในที่สาธารณะ การแสดงโชว์ อะไรกก็แล้วแต่ที่คุณสามารถเอามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนตัวได้ ทุกอย่างมันคือการลงทุนทั้งนั้น มันเลยเป็นอาชีพหนึ่งที่ใช้เงินทุนสูงมากจริงๆ

สุดท้ายฝากผลงานให้แฟนๆได้ติดตามกันซักนิดครับ

N: ฝากรายการ “แดร็กแดก” ด้วยนะคะ อาจจะไม่ได้ออกตามกำหนด แต่ก็จะอัพเดต และพยายามทำคอนเท้นให้วาไรตี้ ทำในสิ่งเค้าคิดว่ากันทำกันเบอร์เลยหรอ อย่างเช่นเร็วๆ นี้เราไปงาน Gay Pride ที่ไต้หวัน ก็ไปถ่ายรายการที่โน่น เราก็ทำชุดใหม่ทั้งหมดเลย ฝากติดตามกันด้วยนะคะ

05_ 094

ติดตามทั้งสองคนได้ที่ https://www.facebook.com/DragDaek99

Photographed by Termsit Siriphanich

Styled by Purimphat Nitiwadsopon

Makeup by Naruedom Putipan  IG: @golfxmua

Hair by Techin prombuad

Interview by Chalermpol Teamkom

Editor in chief Austin Thein